Buppropion : Bupropion HCl 150 mg
คำแถลงการณ์ของ อดีตขี้ยา
โดย..เริ่มจากที่เพื่อนรักคนหนึ่งชักชวนให้เลิกสูบบุหรี่โดยแนะนำให้ลองใช้ยาตัวนี้ดู Quomem (อ่านว่า โควเมม) ซึ่งเค้าเลิกมาได้เดือนกว่าแล้วนึกถึงผม เลยมาแนะนำให้ลองดู..ปรากฎว่าผมก็สามารถเลิกได้ภายใน 5 วันแรกที่กินยา โดยมีผลข้างเคียงน้อยมาก ซึ่งผมก็มาสรุปว่าที่ผมสามารถเลิกบุหรี่ได้นั้นมันเกิดจากอะไร ก็สามารถสรุปได้ว่า ยามีส่วนทำให้เราลดความอยากสูบบุหรี่ลง จากนั้นก็เป็นจิตใจที่ต้องอดกลั้นต่อความอยากที่จะสูบบุหรี่....แล้วมันก็ผ่านไปได้ด้วยดี ไม่ยากอย่างที่คิด หลังจากที่ผมสูบติดต่อกันมา 20 กว่าปีเคยคิดจะเลิกหลายครั้งก็ยังเลิกไม่ได้ซักที แต่ครั้งนี้ผมก็ชนะมันแล้ว และคิดว่าจะไม่หวนกลับไปหามันอีกเด็ดขาด (รวมทั้ง hs7ul และ hs1teu ด้วย ส่วนท่านอื่นถ้าเลิกได้แล้วก็มาแสดงตัวที่หน้า webboard ได้นะครับ) ตอนนี้มี hs1fdo e21we เข้าร่วมโครงการด้วย อาการที่พบหลังจากใช้ยา Quomem โดยใช้จากกรณีของผมเป็นตัวอย่าง อาการที่รู้สึกได้คือ เราจะรู้สึกว่าเราสูบบุหรี่ได้น้อยลงเรื่อยๆ และความอยากบุหรี่ก็จะน้อยลงเช่นกัน จนสามารถตัดสินใจทดลองหยุดบุหรี่ได้ในวันที่ 5 หลังจากใช้ยา ส่วนอาการที่เราจะกลับไปสูบมันอีกไหมนั้นอันนี้ขึ้นมันจะอยู่ที่จิตใจเราแล้วล่ะครับ แต่ขอเตือนไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าท่านคิดว่าจะเลิกจริงๆ ค่อยใช้ยานี้นะครับเพราะว่าหากท่านใช้ยาแล้วยังไม่เลิกหรือเลิกได้ไม่กี่วันแล้วก็กลับไปสูบอีกคราวนี้ยามันก็จะเอาไม่อยู่แล้วนะครับ มันต้องบวกกับกำลังใจที่เด็ดเดี่ยวของท่านด้วย จนมีผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ผมได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตให้กับครอบครัวและตัวเองก็คือ...การเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร"
ยาที่ช่วยในการอดบุหรี่
Buppropion : Bupropion HCl 150 mg. sustain release ชื่อการค้า Quomem Tablets ุ* non-* * * nicotine รักษาอาการ Nicotine addiction- ช่วยอดบุหรี่ * Anti-Depressant ขัดขวางการ reuptake ของ Dopamine ุ * มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวน้อย ไม่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าในช่วงของการอดบุหรี่
การใช้ : ต้องกำหนดวันที่ต้องการจะเริ่มอดบุหรี่ แล้วเริ่มใช้ยาก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจให้ก่อน 8 วัน หลังจากนั้นให้ยาต่อไปเรื่อยๆ นาน 7-9 สัปดาห์ และอาจให้นานกว่านั้นในผู้ที่มีความเสี่ยง สูงที่จะกลับมาสูบใหม่ ขนาดเริ่มต้น 150 mg. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน และเพิ่มไปถึงวันละ 150 mg. วันละ 2 ครั้ง ควรให้มีระยะห่างกัน 8 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกินวันละ 300 mg.
ข้อห้ามใช้ : ุ ผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบในยานี้ ุ ผู้ป่วยที่มีโรคลมชัก ุ ห้ามใช้ร่วมกับ Monoamine Oxidase Inhibitors
Side Effect : อาการนอนไม่หลับ, ปากแห้ง, ปวดศีรษะ
*** จะเห็นได้ว่าการอดบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ดังนั้นบุคคลรอบข้างมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ ไม่ควรจะผลักดันในทางลบ เช่น ด่าว่า, ตำหนิติเตียน เพราะผู้ที่ติดบุหรี่จะรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะต้องต่อสู้กับยาเสพติดเพียงลำพัง คนรอบข้างควรให้กำลังใจและเตือนสติไม่ให้กลับไปหามัน
(1กล่องมี 6 แผงๆละ 10 เม็ด ราคาประมาณ 1500 บาทแผงละ 250 บาท ตกเม็ดละ 25 บาท) ผมว่าคุ้มนะยาผมไม่มีขายนะครับ หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปครับถ้าไม่มี บอกให้เค้าสั่งให้ครับ
บุหรี่…ไม่เลิกไม่ได้แล้ว
เมื่อคุณตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ คุณจะได้รับแต่สิ่งที่ดี คือ…
? มีบุคลิกดีขึ้นและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
ควันบุหรี่นอกจากจะทำให้ผู้สูบมีกลิ่นตัว กลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น ฟันเหลืองเป็นคราบแล้ว ใบหน้าของผู้สูบบุหรี่มานานระยะหนึ่งจะมีริ้วรอยลึกที่สังเกตเห็นได้ง่าย และมีผิวพรรณหมองคล้ำมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่บั่นทอนบุคลิกภาพและความมั่นใจของผู้สูบบุหรี่ทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณไม่สูบบุหรี่ กลิ่นที่น่ารังเกียจก็จะหายไป และผิวพรรณมีน้ำมีนวลขึ้น
? เป็นการเลิกทำร้ายสุขภาพของคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูก
จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่ จะทำให้มีอาการป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด ทอนซิลอักเสบ หวัด ปวดบวม
? เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่จะมีโอกาสติดบุหรี่สูงกว่าเด็กทั่วไป การสูบบุหรี่ของพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ลูก
? ไม่ต้องเสี่ยงต่อการทุกข์ทรมานจากโรคต่างๆ
ในควันบุหรี่มีสารเคมีที่เป็นพิษอยู่ถึง 4,000 ชนิด และมี 43 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง จากการรายงานทางการแพทย์ พบว่าร้อยละ 85 ของผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองเกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นโรคที่คนไข้จะไม่เสียชีวิตทันที แต่เหนื่อยหอบจนไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องนอนเฉยๆ และต้องให้ออกซิเจนช่วยหายใจตลอดเวลา และพบว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่มีอาการในระยะสุดท้ายจะตายภายใน 10 ปี โดยมีอาการเหนื่อยหอบตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต
? ไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ทุกวันนี้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่วันละ 13,700 คน หรือชั่วโมงละ 570 คน สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ชั่วโมงละ 5 คน หรือปีละไม่ต่ำกว่า 42,000 คน โดยกว่าครึ่งของจำนวนนี้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
? ประหยัดเงินในกระเป๋า
คุณสามารถมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายอีกอย่างน้อยเดือนละ 1,000 บาทหรือมากกว่านั้น ถ้าคุณสูบบุหรี่ต่างประเทศหรือสูบมากกว่าวันละ 1 ซอง
เลิกบุหรี่…ได้ผลดีทันตาเห็น
การสูบบุหรี่วันละไม่ต่ำกว่า 20 มวน ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินประมาณวันละ 200 ครั้ง และสารเคมีอื่นๆ อีกหลายพันชนิด แต่ทันทีที่ผู้สูบบุหรี่เริ่มหยุดสูบบุหรี่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้
ภายใน 20 นาที ความดันเลือดและชีพจรจะเต้นในระดับปกติ
ภายใน 8 ชั่วโมง ระดับออกซิเจนในเลือดจะคืนสู่ระดับปกติ
ภายใน 24 ชั่วโมง คาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับแน่นอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะถูกขจัดออกไป ปอดจะเริ่มขจัดเสมหะและสิ่งสกปรกต่างๆ จากการสูบบุหรี่ออกจากร่างกาย
ภายใน 48 ชั่วโมง นิโคตินจะไม่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย ความรู้สึกรู้รสและกลิ่นจะกลับมา
ภายใน 3 - 4 วัน จะรู้สึกสดชื่นขึ้น ความรู้สึกรู้รสและกลิ่นจะกลับคืนมา นอกจากนั้นกลิ่นตัวก็จะปลอดกลิ่นบุหรีด้วย
ภายใน 3 สัปดาห์ การทำงานของปอดจะดีขึ้น ทำให้สามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นกว่าครั้งที่สูบบุหรี่อยู่
ภายใน 2 เดือน เลือดจะไหลเวียนไปสู่แขนขา และจะมีกำลังวังชาเพิ่มมากขึ้น
ภายใน 3 เดือน ระบบการขจัดสิ่งสกปรกในปอดจะทำงานได้เป็นปกติ ขณะเดียวกัน สำหรับผู้หยุดสูบบุหรี่ที่เป็นชายนั้นในช่วงนี้เชื้ออสุจิจะกลับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ และจำนวนเชื้ออสุจิก็เพิ่มขึ้นด้วย
ภายใน 5 ปี อัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือดจะลดลงจนเกือบเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
ภายใน 10 -15 ปี อัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากบุหรี่รวมทั้งมะเร็งปอดจะมีความใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
เลิกบุหรี่…วิธีไหนดีที่สุด
จากสถิติพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง และผู้ที่หยุดสูบบุหรี่สำเร็จส่วนใหญ่ใช้วิธีหยุดสูบทันที ในผู้หยุดสูบโดยวิธีค่อยๆ ลดจำนวนมวนที่สูบลงนั้น ส่วนใหญ่จะไม่สามารถหยุดสูบได้
สำหรับการเลิกสูบบุหรี่แล้ว ไม่ว่าจะสูบบุหรี่มานานเท่าใด ไม่ว่าผู้สูบบุหรี่จะมีอายุมากเท่าใดหรือเกิดโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ การหยุดสูบบุหรี่ทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะมีก็แต่เพียงอาการหงุดหงิดในผู้ที่ติดมากในระยะสัปดาห์แรกที่หยุดสูบเท่านั้น สำหรับร่างกายแล้วจะดีขึ้นทันทีที่หยุดสูบ
วิธีเลิกสูบบุหรี่ที่ไม่แนะนำคือ การเลิกสูบบุหรี่พร้อมๆ กับการเสียชีวิต เวลาที่จะเลิกสูบบุหรี่ที่ดีที่สุดคือ ก่อนที่จะเกิดโรค นั่นคือก่อนอายุ 35 ปี แต่แม้เมื่อป่วยแล้ว การเลิกสูบบุหรี่ก็จะบรรเทาอาการป่วยลง
เคล็ดลับ…ในการเลิกบุหรี่
หากคุณตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ปฏิบัติดังนี้
? ทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ ที่เขี่ยบุหรี่ และไฟแช็ค
? ตั้งสติให้มั่น เข้มแข็งเมื่อมีอาการหงุดหงิด
? ตัดความเคยชิน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มักจะทำร่วมกับการสูบบุหรี่ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
? คุมอาหารด้วยการเลือกกินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ให้มากกว่าเดิม
? จดจำเหตุผลที่คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อเป็นกำลังใจเวลาท้อ
? เตือนตนเองอยู่เสมอว่า “คุณไม่สูบบุหรี่แล้ว”
เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ คุณควรที่จะ…
? อย่าสูบบุหรี่ทันทีที่อยากสูบ คุณควรจะประวิงเวลาของการสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ
? ดื่มน้ำหรือล้างหน้าทันที เมื่อรู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย
? สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และช้าๆ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง คุณจะผ่อนคลายขึ้น
? หันไปทำกิจกรรมอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความอยากสูบบุหรี่
* ข้อมูลจาก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
ผมว่าคุณเลิกมันได้แน่นอน...ลองดูซิครับ.....................
มะเร็งปอด
ณ มุมใดมุมหนึ่งของโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดทุกๆ 30 วินาที ขณะที่ประเทศไทยมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 โดยเฉพาะมะเร็งปอดพบมากที่สุดในเพศชาย เนื่องจากภาวะของสังคมเมืองและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดเพี้ยนของคนในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย จากสถิติพบว่าในประเทศไทยมะเร็งปอด เกิดขึ้นใหม่มากกว่า 10,000 รายต่อปี หรือเท่ากับว่าคนไทยเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นวันละ 26 ราย และใน 26 รายจะมีผู้เสียชีวิตถึง 19 ราย เมื่อเทียบมะเร็งชนิดอื่น มะเร็งปอดมีแนวโน้มสุญเสียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สมาคมโรงมะเร็งแห่งประเทศ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จัดเสวนาเรื่อง “เรียนรู้....สู้มะเร็งปอด” โดยมี นพ.อาคม เชียรศิลป์ นายกสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์ นายกสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย และนพ. อดิศักดิ์ ศรพรหม เลขาธิการสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปภัมภ์ร่วมกันเสวนาเพื่อร่วมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปอดเพื่อการเฝ้าระมัดระวังดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคมะเร็งปอด ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า สาเหตุของมะเร็งปอดเกิดจากบุหรี่ร้อยละ 80 ที่เหลืออาจเป็นสาเหตุอื่น ๆ รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล โดยผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน นาน 10 ปี เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด 8-10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะข้อมูลล่าสุดจากมูลนิธิการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ระบุว่าบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรไทยปีละ 500,000 คน และผู้ที่ติดบุหรี่มากที่สุด ร้อยละ 70 คือ ผู้ที่มีอายุช่วง 29 ปี กลุ่มผู้สูบบุหรี่ใหม่คือ กลุ่มเยาวชนที่เริ่มทดลองตั้งแต่อายุ 13-14 ปี เริ่มติดบุหรี่เมื่ออายุ 18 ปี และเลิกสูบบุหรี่ (มีความต้องการที่จะเลิก) ก็เมื่ออายุ 41 ปีแล้ว ซึ่งจะเท่ากับว่ามีระยะเวลาในการติดบุหรี่นานถึง 23 ปี นพ. อาคม เชียรศิลป์ นายกสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากข้อมูลของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ใหม่ที่เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 13 ปี นั้นเป็นข้อมูลที่น่าห่วงมาก ทุกหน่วยงานจึงควรต้องร่วมกันรณรงค์โดยเฉพาะการรณรงค์ตั้งแต่กลุ่มเด็กในระดับมัธยมศึกษาที่เพิ่งเริ่มทดลองและเริ่มติดบุหรี่ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปอด ตั้งแต่เริ่มต้นว่า มะเร็งปอดเกิดจากอะไรสาเหตุที่ทำให้เกิดก็มาจากปัจจัยภายนอกของร่างกาย มะเร็งปอดเป็นโรคที่เราป้องกันได้ตั้งแต่ต้นไม่ใช่โรคตามกรรมเวรอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากเรามีโอกาสหยุดบุหรี่เมื่อใด จะเป็นมะเร็งปอดน้อยลงซึ่งการเป็นมะเร็งปอดในระยะแรกๆ ก็มักจะไม่มีอาการภายนอกแสดงให้เห็น และจะพบว่ามีอาการภายนอกให้เห็นแล้วก็มักจะเป็นระยะท้ายๆ แล้ว ดังนั้นเราจึงควรจะมีหน่วยงานหรือศูนย์มะเร็งแห่งชาติที่เข้าช่วยทำหน้าที่มา ดูแลผู้ป่วยในระยะขึ้นสุดท้าย ส่วนการสูบบุหรี่ทางอ้อม หรือผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อยู่ในบริเวณซึ่งได้รับควันบุหรี่ ผลที่ตามมา คือ ควันที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็ง โดยควันที่ผู้ไม่สูบบุหรี่สูดเข้าไปจะมีส่วนประกอบเหมือนกับผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไป แต่จะมีปริมาณ N-nitrosamine สูงกว่าและยังมีสารอื่นๆที่มีขนาดเล็กกว่าที่มีเหลืออยู่ในอากาศซึ่งผ่านเข้า bronchial tubeได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของมะเร็งปอดพบในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่ นพ. อาคม ให้ข้อมูลอีกว่า ผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ ซึ่งมีแร่แอสเบสตอสปะปนอยู่ โดยเฉพาะช่างก่อสร้าง ช่างกล จะเป็นผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด โดยระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี ผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า ผู้ที่สูบบุหรี่และทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอสด้วยแล้วจะเสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง90 เท่า นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องสัมผัสกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง เช่น ผู้หญิงที่ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ พนักงานเก็บเงิน หรือสัมผัสกับสารก่อมะเร็งอื่น ๆ เช่น ช่างทาสี ระยะเริ่มแรกของโรคไม่มีอาการใดใดที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด แต่อาจพบอาการไอเรื้อรัง ลักษณะไอแห้ง ๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสาย ๆ ติดปนกับเสมหะออกมา น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ชีดอ่อนเพลีย ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทำให้โอกาสที่รักษาหายลดน้อยลง “สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่มานานแล้วยังไม่พบว่าเป็นมะเร็งปอดก็มิใช่ว่าจะไม่เป็นมะเร็งปอดในวันข้างหน้าเพราะที่คุณยังไม่เป็นในวันนั้นก็เนื่องจากร่างกายของคุณยังแข็งแรงดีอยู่แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่ง ร่างกายคุณอ่อนแอลงแล้วคุณยังสูบบุหรี่อยู่ อาการมะเร็งปอดจะสำแดงให้เห็นและเมื่ออายุยิ่งมากขึ้น เปอร์เซ็นต์โอกาสการรอดชีวิตก็ยิ่งมีน้อยลง” นพ.อาคมกล่าวย้ำ ทั้งนี้ การวินิจฉัยมะเร็งปอดสามารถทำได้หลาย ๆ ทาง บางรายอาจตรวจพบได้ในขณะที่มีการตรวจร่างกายเป็นประจำแต่ไม่มีอาการแสดง หรือบางรายอาจมีอาการและอาการแสดงมาเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนมาแล้ว ดังนั้นจึงควรทำการสอบถามแพทย์ เมื่อพบว่ามีอาการต่าง ๆเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดเสียงแหบ เสียงห้าว ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด หายใจลำบาก ปวด เป็นปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ หน้าและคอบวม นิ้วมือบิด ผิดรูป เช่นปลายนิ้วบวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมก็ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรกเพราะเป็นอาการสัญญาณอัตรายการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ ส่วนการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาด ชนิด และระยะของก้อนมะเร็งนั้น และสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญแพทย์จะตัดสินใจว่าการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดนั่นคือ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่ำที่สุดและให้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปการรักษามะเร็งปอดมีวิธีการหลัก ๆ อยู่ คือ การผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยา เคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาในปัจจุบันยังได้ผลไม่ดีเท่ามะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งปากมดลูก ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน ร่วมมือกันทุกคน โดยให้ความรู้ในเรื่องชองมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตสูงจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่
Comments